ทราบหรือไม่ว่า ผู้ที่สายตาสั้นนั้นมีความเสี่ยงต่อโรคตาหลายชนิด
คือ ต้อหิน จอประสาทตาฉีกขาด และหลุดลอก จอประสาทตา จุดรับภาพเสื่อม ต้อกระจก
โดยมักเกิดในผู้ที่มีค่าสายตาสั้นมาก ซึ่งอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
และอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
ในปัจจุบันมีการศึกษาวิธีชะลอการเพิ่มของค่าสายตาสั้น เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น
โดยมีวิธีดังนี้
1. การหยอดยา 0.01% Atropine
ข้อดี: ได้ผลดี วิธีที่จักษุแพทย์ใช้ในโรงพยาบาล มีผลข้างเคียงน้อย
ข้อเสีย: ต้องหยอดยาทุกวัน ต่อเนื่องอย่างน้อย2ปี โดยจักษุแพทย์จะเลือกเคสที่จำเป็นต้องใช้ยา ตามค่าสายตา อายุ การเพิ่มขึ้นของค่าสายตา และประวัติครอบครัว
2. ใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้น
เป็นเลนส์ที่มีโครงสร้างพิเศษ นอกจากแก้ไขค่าสายตา ยังช่วยชะลอการเพิ่มของค่าสายตา
ข้อดี: ไม่ต้องหยอดยา ไม่มีผลข้างเคียงจากยา สะดวกในผู้ที่ใส่แว่นสายตาอยู่แล้ว
ข้อเสีย: ราคาสูงกว่าเลนส์สายตาทั่วไป
ควรเลือกเคสที่เหมาะสม การวัดค่าสายตาที่แม่นยำ และการเลือกกรอบแว่นที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของเลนส์ ภายใต้คำแนะนำของจักษุแพทย์ หรือนักทัศนมาตร
เลนส์มีหลายโครงสร้างจากหลายบริษัทเลนส์ ซึ่งมีผลชะลอค่าสายตาได้ต่างกัน จึงควรเลือกเลนส์ที่มีประสิทธิภาพที่ดี
3. Outdoor activities หรือกิจกรรมกลางแจ้ง
ช่วยชะลอการเกิด และการเพิ่มค่าสายตาสั้นได้ แนะนำกิจกรรม 2 ชั่วโมงต่อวัน
4. คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ต้องระมัดระวังเรื่องการดูแลในเด็ก
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่สายตาสั้น เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆข้างต้น
ควรตรวจเช็คสายตาและการมองเห็นทุกปี
โดยเฉพาะผู้ที่สายตาสั้นมากกว่า -6 D หรือ 600
หมั่นสังเกตอาการ หากมีอาการผิดปกติดังนี้ ควรรีบพบแพทย์
-ตามัว -มีจุดดำลอยหรือแสงวาบในตา
-เงาดำตรงกลางภาพ -มีม่านมาบังลานสายตา
-เห็นเส้นตรงบิดเบี้ยว